2 din worldtech

วิทยุติดรถยนต์ 2 DIN ใหม่ล่าสุดจาก WORLDTECH… ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ…ดีไซน์สวยงาม…ลูกเล่นครบครัน… พร้อมคุณภาพเสียงที่เกินตัว…

  2 DIN ยี้ห้อ WORLDTECH  เป็น วิทยุติดรถยนต์ ขนาด 6.95 นิ้ว ที่มีหน้าตาหรูหราพอตัว… มีการวางปุ่มควบคุมต่างๆเอาไว้ได้อย่างเป็นระเบียบใช้งานง่าย…มีระบบส่องสว่างช่วยขับเน้นให้เห็นปุ่มควบคุมต่างๆได้อย่างชัดเจน… ช่องเชื่อมต่อของ SD CARD / USB นั้นจะถูกจัดวางไว้ที่ด้านหน้าของเครื่องทั้งหมด…เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน…ที่ด้านหลังของเครื่องนั้นจะเป็นตำแหน่งของชุดสายไฟสำหรับต่อไฟเลี้ยงตัวเครื่องที่พ่วงมากับภาคเอาท์พุทแบบไฮเพาเวอร์…ที่มีภาคปรีเอาท์แบบ RCA 4 Ch. และ SUB Out มาให้อย่างละ 1 ชุด พร้อมด้วยวีดีโอเอาท์อีก 1 ชุด…
   วิทยุติดรถยนต์ 2 DIN ยี้ห้อ WORLDTECH จัดเป็นเฮดยูนิตที่มีความสามารถในการ Optical Disc ได้ครบครับ…ไม่ว่าจะเป็น DVD /VCD / CD / MP3 /WMA… สนับสนุนการอ่านไฟล์จาก USB / SD / MMC ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังมีระบบ bluetooth สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ของท่านได้อย่างดีเยี่ยม…ปรับแต่งเสียงได้ด้วย เบส / ทรีเบิล และหน่วยความจำ EQ-Preset 4 แบบ POP / ROCK / CLASSIC / FLAT… พร้อมด้วยภาค AV ที่จ่ายสัญญาณในระบบ PAL / NTSC…และสามารถควบคุมการทำงานระยะไกลได้ด้วยรีโมทคอนโทรลอีกด้วย…

เทคนิคการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ สำหรับนักเล่นมือใหม่

เทคนิคการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์รถยนต์

  งานติดตั้งเครื่องขยายนั้น อาจจำเป็นต้องใช้ทักษะรวมกับคุณสมบัติด้านสร้างสรรค์มากกว่าการติดตั้งเครื่องเล่นวิทยุ เพราะต้องมีการกำหนดตำแหน่งที่จะติดตั้งเอาเอง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก และด้วยพลังพิเศษจากเพาเวอร์แอมป์ ท่านจะเร่งความดังเครื่องได้มากขึ้น โดยเสียงที่ได้มีความสะอาดเป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วย

เครื่องมือที่ต้องจัดเตรียม 

- สว่าน และ ชิ้นอุปกรณ์ประกอบ
 - ไขควงและสกรู
- สายรัด และเครื่องมืดบีบหัวต่อสาย
-หัวต่อสายขนาดต่าง ๆ
 -สายไฟแรงดัน สายไฟกราวน์ สายไฟรีโมท และสายลำโพง
 -หัวแร้ง ตะกั่วบัดกรี

วิธีการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์รถยนต์

1. การวางแผน เลือกกำหนดที่ตั้งเพาเวอร์แอมป์ของท่านตามที่ตั้งใจไว้ และให้ถูกหลักของการระบายความร้อน และควรจะต้องมีพื้นที่ในด้านต่าง ๆ พอเพียงเพื่อทำการเชื่อมต่อ และการเดินสาย และปรับแต่ง ให้เป็นไปได้อย่างสะดวก การกำหนดที่ตั้งของเพาเวอร์แอมป์ที่เหมาะสมได้แก่ บริเวณใต้เบาะที่นั่งด้านหน้า บริเวณผนังที่วางเท้าด้านหน้า หรือในห้องสัมภาระท้ายรถ
2. การยึดติดเพาเวอร์แอมป์ ควรนำตัวเครื่องไปวางทาบในบริเวณที่ต้องการติดตั้ง และทำเครื่องหมายบริเวณที่จะทำการยึดสกรูเอาไว้ก่อน จากนั้นจึงเจาะรูสำหรับยึดสกรู พร้อมตรวจเช็คความแน่นหนาหลังยึดสกรูเพาเวอร์แอมป์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
3. การเดินสายเพาเวอร์แอมป์ ก่อนการเดินสายใด ๆ ในรถ ให้ท่านปลดสายเชื่อมแบตเตอรี่ที่เป็นลบ (กราวน์) ออกจากขั้วแบตเตอรี่เสียก่อน ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบกับระบบไฟฟ้าของรถยนต์ โดยมีสายสำคัญ 3 ส่วนที่ต้องเอาใจใส่ ดังนี้
  •   สายเกี่ยวกับระบบไฟ : สายไฟ สายกราวน์ สายรีโมท ควบคุมการเปิด/ปิด เป็นแหล่งพลังไฟให้กับเพาเวอร์แอมป์ 
  •   สายในส่วนอินพุท : สายนำสัญญาณ RCA ซึ่งเป็นสายนำสัญญาณจากเครื่องรับวิทยุ / ซีดีไปยังเพาเวอร์แอมป์ 
  •   สายในส่วนเอาท์พุท : เป็นสายนำกระแสเสียงจากเพาเวอร์แอมป์ไปยังลำโพง เพาเวอร์แอมป์ ส่วนใหญ่จะไม่ได้มีสายไฟสำคัญต่าง ๆ มาให้ ซึ่งในการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์เพียงตัวเดียวในระบบ ท่านสามารถซื้อสายต่าง ๆ เหล่านี้ได้จากร้านประดับยนต์

วิธีเลือกเพาเวอร์แอมป์รถยนต์

พื้นฐาน วิธีเลือกเพาเวอร์แอมป์รถยนต์

   คำถามที่ได้ยินกันอยู่เสมอ หรือพบบ่อย ก็คือ ใช้เพาเวอร์แอมป์รถยนต์กำลังขับเท่าไร ถึงจะเหมาะสมกับลำโพงซับวูเฟอร์ ? หรือ เสียงเบสส์ไม่ค่อยออก แนะนำเพาเวอร์แอมพ์ดีๆ ให้หน่อย คอลัมน์นี้จะบอกถึงวิธีเลือก และเล่นเครื่องเสียงตามปกติในระดับมาตรฐาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเลือกเพาเวอร์แอมพ์ ให้กับระบบเสียงในรถของคุณได้ เพาเวอร์แอมป์รถยนต์จะได้รับสัญญาณจากเฮดยูนิท (วิทยุรถยนต์) เพื่อขยายสัญญาณเสียงให้มีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างเพียงพอก่อนที่จะส่งไปขับลำโพงรถยนต์ เป็นการดีที่จะใช้เพาเวอร์แอมพ์แยกขับต่างหากสำหรับความถี่สูง และความถี่ต่ำ แต่บางครั้งก็ไม่จำเป็น เพราะปัจจุบันมีเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ประเภทมัลทิแชนแนล สามารถขับลำโพงกลาง/แหลม และซับวูเฟอร์ได้ครบทั้งระบบเสียง แต่มีหลายคนที่เริ่มต้นเล่นระบบเสียงโดยนึกถึงพลังเสียงเบสส์ของซับวูเฟอร์ก่อนเป็นอันดับแรก และใช้เฮดยูนิทที่มีไฮเพาเวอร์ขับลำโพงกลาง/แหลม ซึ่งภาคขยายในตัววิทยุนั้นให้ความดังเสียงไม่เพียงพอกับการได้ยิน กำลังขับเท่าไรถึงจะดี มีหลายวิธีในการวัดกำลังวัตต์ของเพาเวอร์แอมพ์ติดรถยนต์ หลายคนอาจคิดว่าเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ของตัวเองมีกำลังขับมากกว่าคนอื่น แต่เมื่อดูกฎฟิสิกส์จะบอกได้ว่า พลังงาน (POWER) เป็นผลคูณระหว่าง กระแส และแรงดันไฟฟ้า (POWER = VOLTAGExCURRENT) ตัวอย่างเช่น ถ้าเพาเวอร์แอมพ์ใช้แรงดันไฟฟ้า 12 โวลท์ และกินกระแสไฟฟ้าที่ 20 แอมพ์ ดังนั้นเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ของคุณจะมีกำลังขับอยู่ที่ 240 วัตต์ แต่ในความเป็นจริง เพาเวอร์แอมพ์ทั่วไปจะสูญเสียพลังงานถึง 50 % ซึ่งกลายเป็นรูปแบบพลังงานความร้อน ดังนั้น เพาเวอร์แอมพ์จึงมีกำลังขับจริงเพียง 120 วัตต์เท่านั้น วิธีตรวจสอบกำลังวัตต์จริง มีหลายวิธีในการวัดค่าพลังงาน (POWER) ซึ่งสามารถวัดที่ปลายสุดของสัญญาณ (วัดที่จุด PEAK หรือ MAX) เริ่มตั้งแต่ 0 องศา ของรูปคลื่นสัญญาณ ไปที่ 90 องศา (บางครั้งเรียก MUSIC POWER) วิธีที่ถูกต้องที่สุดในการวัดพลังงานจะใช้หน่วยเป็น RMS (ค่าเฉลี่ยต่อเนื่องของพลังงานไฟฟ้า) วิธีหาค่าเฉลี่ย RMS จากการวัดพลังงานไฟฟ้า ที่ระบุเป็น PEAK หรือ MAX นั้น ทำได้ด้วยการหารด้วย 3 ซึ่งค่า MUSIC POWER เป็นค่าครึ่งหนึ่งของค่า PEAK POWER ตัวอย่างเช่น เพาเวอร์แอมป์รถยนต์มีกำลังขับสูงสุดที่ 100 วัตต์/แชนแนล PEAK ดังนั้นค่า MUSIC POWER จะได้เพียงแค่ 50 วัตต์/แชนแนล และค่ากำลังขับที่ใช้หน่วย RMS จะได้เป็น 33 วัตต์/แชนแนล คุณควรจะตรวจสอบรายละเอียดด้านสเปคของเพาเวอร์แอมพ์ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ตัวนั้นมีกำลังขับจริงตรงตามที่คุณต้องการ ในบางครั้งก็มีบางบริษัทที่ระบุโดยใช้เงื่อนไขบางอย่างในการวัดค่าพลังงานของเพาเวอร์แอมพ์ เช่น การคำนวณพลังงานที่แรงดันไฟฟ้า 15 โวลท์ และโหลดความต้านทานที่ต่ำกว่า 2 โอห์ม เป็นต้น เพื่อความแน่ใจควรดูแรงดันไฟฟ้าที่ใช้วัดทดสอบที่เกิดขึ้นจริง และใช้โหลดปกติที่ 4 โอห์ม ต้องการกำลังขับเท่าไร ยกตัวอย่างเช่น ลำโพงกลาง และแหลม ใช้เพาเวอร์แอมพ์กำลังขับตั้งแต่ 30-50 วัตต์/แชนแนล RMS ส่วนลำโพงซับวูเฟอร์ควรใช้กำลังขับไม่น้อยกว่า 80-150 วัตต์ (หรือมากกว่านี้) เนื่องจากหูมนุษย์มีความ ไวต่อความถี่สูงมากกว่าความถี่ต่ำ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีเพาเวอร์แอมพ์ขนาด 50 วัตต์x4 แชนแนล ขับลำโพงกลาง/แหลมทั้งหมด (กำลังขับรวม = 200 วัตต์) ดังนั้นเพาเวอร์แอมพ์สำหรับขับลำโพงซับวูเฟอร์ควรจะมี กำลังขับอย่างน้อย 200 วัตต์ หรือมากกว่านี้ หลายคนสงสัยกันว่า กำลังขับเพาเวอร์แอมป์รถยนต์มากเกินไปจะสร้างความเสียหายให้กับลำโพงได้ แต่ความเสียหายของลำโพงที่เกิดขึ้นจะมาจากความเพี้ยน ไม่ใช่กำลังขับ ถ้าลำโพงได้รับการตัดความถี่ที่เหมาะสม และไม่มีความเพี้ยน เป็นเรื่องยากที่จะเกิดความเสียหาย และเพาเวอร์แอมพ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าจะต้องการระบบไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถจ่ายไฟให้กับระบบเครื่องเสียงในรถได้อย่างเพียงพอ มองอะไรในเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ โดยปกติเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ที่มีจำหน่ายในตลาดเครื่องเสียงจะใส่วงจรครอสส์โอเวอร์ไว้ในตัว โดยไม่ต้องไปซื้อครอสส์โอเวอร์เพิ่มเติม ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ถ้าหากในระบบเสียงมีลำโพงหลายตัว จำเป็นต้องตรวจสอบด้วยว่า เพาเวอร์แอมป์รถยนต์มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะขับเล่นที่โหลด 2 โอห์ม (หรือน้อยกว่า) ได้หรือไม่ นอกจากนี้อาจจะต้องวางแผนเพื่อที่จะยกระดับระบบเสียงของคุณให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น และควรดูที่ค่าความเพี้ยน THD ด้วย เพราะค่านี้ยิ่งต่ำมากเท่าไร นั่นก็หมายถึง ความชัดเจนของเสียงดนตรีที่จะเพิ่มตามไปด้วย เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ในแต่ละ CLASS เพาเวอร์แอมป์รถยนต์CLASS A นั้นจะให้เสียงดนตรีที่ถูกต้องมากที่สุด แต่ก็มีข้อบกพร่องบางอย่างที่ทำให้ไม่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของความร้อน ซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานเพียง 25 % เท่านั้น ดังนั้นเพาเวอร์แอมพ์ประเภทนี้จึงมีแผงฮีทซิงค์ และพัดลมระบายความร้อนขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีราคาที่แพง เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ CLASS B นั้นจะพบมากที่สุด การทำงานจะใช้ทรานซิสเตอร์เอาท์พุท 2 ตัว โดยที่ตัวหนึ่งทำงานในซีกบวกของสัญญาณ และอีกตัวหนึ่งทำงานในซีกลบของสัญญาณ โดยนำสัญญาณทั้งสองมารวมกัน ปัญหาการออกแบบวงจร CLASS B จะเกิดความเพี้ยนเล็กๆ ที่บริเวณรอยต่อของสัญญาณซีกบวกกับซีกลบ แต่ก็เป็นที่ยอมรับของนักเล่นเครื่องเสียง และมีความร้อนน้อยกว่าแบบ CLASS A ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก และมีประสิทธิภาพในการทำงานประมาณ 50 % เพาเวอร์แอมป์รถยนต์CLASS AB เป็นการออกแบบรวมกันของเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ทั้ง 2 ชนิดข้างต้น ซึ่งการทำงานจะใช้วงจร CLASS A ขยายสัญญาณในระดับต่ำก่อนที่จะสวิทช์การทำงานไปเป็น CLASS B เพื่อให้กำลังขยายมีระดับเสียงที่เพิ่มมากขึ้น เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ CLASS D เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ คือ เครื่องขยายเสียง CLASS D (เครื่องขยายเสียงดิจิทอล) เพาเวอร์แอมพ์เหล่านี้ไม่ได้เป็นดิจิทอลจริงๆ แต่ทำงานในทำนองเดียวกับการแปลงสัญญาณดิจิทอลเป็นแอนาลอก สามารถให้กำลังขับได้สูงกว่า 1,000 วัตต์ และมีประสิทธิภาพการทำงานมากกว่า 80 %

แมทชิงเพาเวอร์แอมป์รถยนต์กับลำโพง อย่างเหมาะสม

แมทชิงเพาเวอร์แอมป์รถยนต์กับลำโพง

   อันดับแรก ให้สังเกตที่กำลังขับของระบบเสียงรถยนต์ ว่าคุณต้องการให้มีกำลังวัตต์เท่าไร ซึ่งกำลัง วัตต์ของเพาเวอร์แอมพ์ และลำโพง ควรจะมีหน่วยเป็น RMS หรือ MAX ที่เท่ากัน หรือใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อให้เพาเวอร์แอมพ์ และลำโพง ทำงานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม หรือที่เรียกว่า แมทชิงกัน
   หากกำลังวัตต์ของเพาเวอร์แอมพ์ สูงกว่าลำโพง ก็จะทำให้ลำโพงหรือซับวูเฟอร์นั้น ได้รับความเสียหาย แต่ถ้าเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ มีกำลังวัตต์น้อยเกินไป จะทำให้ลำโพงถ่ายทอดคุณภาพเสียงได้ไม่เต็มที่ ถ้าคุณกำลังมองหาเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ให้ดูว่าลำโพงหรือซับวูเฟอร์นั้นๆ สามารถแมทช์กับเพาเวอร์แอมพ์ได้ลงตัว และพอดี โดยเริ่มต้นจากการวางระบบเสียง ว่าจะต้องใช้ลำโพงกี่คู่ หรือซับวูเฟอร์กี่ตัว เพื่อเลือกเพาเวอร์แอมป์รถยนต์แต่ละชนิดให้ถูกต้อง สำหรับระบบเสียงในรถของคุณ เช่น เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ CLASS A/B เหมาะสำหรับขับลำโพงแยกชิ้น และเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ CLASS D เหมาะสำหรับขับลำโพงซับวูเฟอร์ที่มีกำลังขับสูงๆ เป็นต้น เพราะนี่คือ จุดเริ่มต้นของการจัดชุดระหว่างเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ กับลำโพง ได้แมทชิงกัน
   นอกจากนี้ ถ้าหากมีงบประมาณไม่สูงมาก อาจเริ่มต้นด้วยเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ 5 แชนแนล ขับลำโพงทั้งระบบ ชุดหน้า/หลัง และซับวูเฟอร์ แต่ถ้าหากมีงบประมาณเพียงพอ สามารถใช้เพาเวอร์แอมป์รถยนต์
   สำหรับขับลำโพงชุดหน้า/หลัง และเพาเวอร์แอมพ์โมโนขับลำโพงซับวูเฟอร์ 1 ข้าง ส่วนเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ แบบ 5 หรือ 6 แชนแนล ซึ่งเพาเวอร์แอมป์รถยนต์แบบดังกล่าวเหมาะสำหรับผู้ที่หลงใหลระบบคาร์เธียเตอร์ใน รถยนต์ เพื่อการฟังระบบเสียงเซอร์ราวน์ดที่สมจริง
   ปัจจัยและองค์ประกอบในการเลือกเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ คือ ถ้าคุณต้องการระบบเสียงที่ดี คุณต้องเลือกเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ที่มีวงจรฟิลเตอร์ สำหรับโลว์พาสส์ และไฮพาสส์ ซึ่งวงจรโลว์พาสส์ ทำหน้าที่กรองความถี่ต่ำผ่านเข้าไปยังซับวูเฟอร์ ส่วนวงจรไฮพาสส์ ทำหน้าที่กรองความถี่สูงผ่านให้กับลำโพงทวีเตอร์ นอกจากนี้ ภายในเพาเวอร์แอมพ์ที่มีคุณภาพจะมีวงจรซับโซนิค ฟิลเตอร์ สำหรับกรองความถี่ต่ำที่ไม่ต้องการทิ้งไป และยังทำให้เพาเวอร์แอมพ์ไม่สูญเสียกำลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์
   ถึงแม้ว่าคุณจะเลือกเพาเวอร์แอมพ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด แต่คุณภาพเสียงอาจถูกจำกัด เพราะลำโพงรถยนต์มีความสามารถในการรองรับกำลังวัตต์ไม่เหมาะสม หรือเพาเวอร์แอมพ์มีการตอบสนองความถี่เสียงได้ดี แต่ไม่แน่นอนว่าเสียงที่ถูกถ่ายทอดผ่านออกมาจากลำโพงนั้นจะดีตามไปด้วย เพราะฉะนั้นการเลือกเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ที่ดีจะต้องมีความเหมาะสมกับลำโพง หรือที่เรียกว่า แมทชิง ก็เพื่อให้คุณภาพเสียงที่ออกมาดีที่สุด

การติดตั้ง และปรับแต่งเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ขั้นเทพ

ติดตั้ง และปรับแต่งเพาเวอร์แอมป์รถยนต์

* การติดตั้งแบทเตอรี ให้กับเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ 

   ถ้าหากจำเป็นต้องเพิ่มแบทเตอรีอีก 1 ตัว สำหรับระบบเสียง จะต้องติดตั้งแบทเตอรีให้มีการระบายอากาศผ่านออกนอกตัวรถได้ หรือถ้ามีคาพาซิเตอร์ตัวใหญ่ ต้องมีการระบายอากาศด้วยเช่นกัน ส่วนจะใช้คาพาซิเตอร์กี่ตัวถึงจะพอ มีคำแนะนำกันว่า ถ้าระบบเครื่องเสียงติดรถยนต์ มีกำลังประมาณ 1,000 วัตต์ แนะนำให้ติดคาพาซิเตอร์ขนาด 1,000,000 ไมโครฟารัด (1 ฟารัด) ต่อชุดเครื่องเสียง 1,000 วัตต์ ส่วนการติดตั้งเพาเวอร์แอมพ์ที่อยู่ในห้องเก็บของด้านหลัง หรือใต้เบาะนั่ง มีสูตรคำนวณขนาด และ ความยาวสายไฟที่เหมาะสม คือ TOTAL POWERx2 หารด้วย VDC ตัวอย่างเช่น เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ยี่ห้อ A กำลังขับ 500 วัตต์x2 หารด้วย 13 (VCD) ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 76.9 แอมพ์ ถ้าต้องการเดินสายไฟเบอร์ 4 AWG จากแบทเตอรีด้านหน้ารถไปที่เพาเวอร์แอมพ์ 500 วัตต์ จะใช้สายไฟยาวไม่เกิน 24 ฟุต โดยใช้ตารางเทียบขนาดสายไฟ/สายกราวน์ด หรือดูเพิ่มเติมจากคู่มือสินค้า ซึ่งจะแนะนำขนาด และความยาวสายไฟที่เหมาะสม

 *การปรับแต่งเสียง ให้กับเพาเวอร์แอมป์รถยนต์

ปัจจุบันเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ทุกยี่ห้อที่มีจำหน่ายในบ้านเรา ผู้ผลิตได้อำนวยความสะดวกในการใช้งาน ให้ทำงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การใส่ฟังค์ชันการทำงานหลายๆ อย่างเข้าไว้ในตัว เช่น ครอสส์โอเวอร์ อีควอไลเซอร์ ซับโซนิค ฟิลเตอร์ บูสต์เบสส์ ฯลฯ ซึ่งฟังค์ชันเหล่านี้ มีหลักและเทคนิคการปรับทูน ดังนี้ เริ่มต้นที่ ครอสส์โอเวอร์ ซึ่งเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ไม่ว่าจะมีราคาหลักพัน หรือหลักหมื่นบาท จะมีฟังค์ชันนี้ทุกยี่ห้อ เพื่อเลือกตัดความถี่ให้กับลำโพงในแต่ละชุด ถ้าเป็นวงจรชนิดไฮพาสส์ จะทำหน้าที่ตัดความถี่สูง เช่น ปรับไฮพาสส์ได้ตั้งแต่ 120-3,000 HZ และวงจรชนิดโลว์พาสส์ จะทำหน้าที่ตัดความถี่ต่ำให้กับวูเฟอร์ และซับวูเฟอร์สำหรับการปรับครอสส์โอเวอร์ที่เพาเวอร์แอมพ์ให้เหมาะสมกับลำโพง ขึ้นอยู่กับการตอบสนองความถี่ ของลำโพง เช่น ลำโพงแยกชิ้น 6 1/2" มีค่าตอบสนองความถี่ 63-20,000 HZ และลำโพงซับวูเฟอร์ 10" มีค่าตอบสนองความถี่ 28-120 HZ ตัวอย่างเช่น การปรับตั้งไฮพาสส์ และโลว์พาสส์ ที่เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ประมาณ 60 HZ ส่วนความลาดชัน (ดีบี/ออคเทฟ) ต้องดูที่สเปคลำโพงในระบบ โดยประมาณแล้วจะ ตั้งไว้ที่ 6 หรือ 12 ดีบี/ออคเทฟ เพราะถ้าตั้งความลาดชันสูงเกินไป อาจทำให้เกิดการเหลื่อมทางเฟส ระหว่างลำโพงกลาง/แหลม และซับวูเฟอร์ ทำให้เสียงกลาง/แหลม และเสียงทุ้ม เดินทางถึงหูไม่พร้อมกัน หรือเกิดการหักล้างความถี่ ถ้าเกิดกรณีดังกล่าว ต้องใช้เครื่องวัด RTA ตรวจสอบความราบเรียบ และกลมกลืน ระหว่างเสียงทุ้มกับเสียงกลาง/แหลมด้วย นอกจากนี้ยังมีเพาเวอร์แอมพ์ที่มีฟังค์ชัน EQ (อีควอไลเซอร์) ส่วนใหญ่ใช้ปรับเสียงให้กับลำโพงซับวูเฟอร์ เช่น BASS EQ ปรับเพิ่ม/ลดได้ +6, +12 ดีบี สำหรับการปรับ EQ ในแอมพ์นั้น ส่วนใหญ่จะปรับเพื่อลด (CUT) ความถี่ที่ต้องการ เพราะถ้าปรับเพิ่ม (BOOST) มากไป จะมีผลกระทบต่อเฟสของความถี่ที่เปลี่ยนไปด้วย มีคำแนะนำกันว่าปรับเท่าที่จำเป็น เพื่อให้ได้เสียงเบสส์ชัดเจนเท่านั้น โดยยังมีระดับความดังของเสียงทุ้ม กลาง/แหลม ที่สมดุลกันทั้งระบบ ส่วนการปรับซับโซนิค ฟิลเตอร์ ในเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ส่วนใหญ่ใช้ปรับให้กับลำโพงซับวูเฟอร์ เพื่อลดความถี่ซ้ำซ้อน (เรโซแนนศ์) ที่เกิดจากห้องโดยสารรถยนต์ หรือลดเสียงเบสส์อื้ออึง ไม่ชัดเจน เบสส์บวม ซึ่งการปรับซับโซนิค ฟิลเตอร์นี้ ไม่ได้กำหนดตายตัวว่าจะต้องอยู่ในช่วงความถี่เท่าไร อาจจะปรับไว้ตั้งแต่ 15-20 HZ ขึ้นอยู่กับความชอบ และทดลองฟัง เช่น ถ้าต้องการแนว SQ เน้นคุณภาพ จะตัดไว้ที่ 70-120 HZ หรือแบบตูมตาม จะเน้นที่ 45 HZ แต่ก็ไม่ควรปรับเพิ่มมาก เพราะจะทำให้เสียงเบสส์เบลอ MASTER/SLAVE เป็นอีกโหมดหนึ่งที่บรรจุไว้ในเพาเวอร์แอมพ์สำหรับใช้งานกับซับวูเฟอร์ โดยเฉพาะเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ คลาสดี ที่ออกแบบให้สามารถต่อเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ 2 ตัวพ่วงเข้ากันด้วยโหมดนี้ เป็นการต่อพ่วงเพาเวอร์แอมพ์เข้าไปในระบบอีกชุดหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้สัญญาณจากวิทยุรถยนต์ PHASE SHIFT เป็นอีกฟังค์ชันหนึ่งที่มีอยู่ในเพาเวอร์แอมพ์ทุกยี่ห้อ มีไว้สำหรับปรับการเลื่อนเฟสของลำโพงแต่ละตัว เมื่อติดตั้งลำโพงเข้าไปในระบบเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าเสียงดนตรีเบาผิดปกติ นั่นอาจเป็นเพราะว่า มีความถี่บางช่วงหักล้างกัน สังเกตได้จากการฟัง คือ เสียงเบสส์จะเบา ถึงแม้ว่าจะเร่งเสียงเบสส์เพิ่มขึ้นก็ตาม หรือใช้เครื่องเชคเฟส (PHASE CHECKER) กับลำโพงทุกตัว โดยทำควบคู่ไปกับการทดลองสลับขั้วสายลำโพงทีละตัว ถ้าปรับเฟสถูกต้อง จะได้ยินเสียงที่ชัดเจนตามปกติ ซึ่งต้องอาศัย ความชำนาญในการฟัง หรือใช้เครื่องตรวจวัดเฟสลำโพง พร้อมกับแผ่นเชคเฟส (POLARITY TESTER CD) โดยสังเกตจากไฟแสดงผล (สีเขียว และสีแดง) หลอดไฟสีเขียวติด 3 ครั้ง และหลอดสีแดงติด 1 ครั้ง แสดงว่าเฟสถูกต้อง แต่ถ้าหลอดไฟติดไม่ตรงตามนี้ แสดงว่าต่อสายผิด ส่วนสาเหตุที่ต้องตรวจเชคเฟสลำโพงก็เพราะว่า ลำโพงบางตัวอาจมีความผิดพลาดในขั้นตอนการผลิต หรือช่างต่อสายผิดก็เป็นได้

วิธีต่อเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ 4 ch


วิธีต่อลําโพงรถยนต์เข้ากับเพาเวอร์แอมป์รถยนต์

   เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ 4CH แนะนำให้ต่อ ขนานอย่างเดียว ไม่ควร อนุกรมใน-ขนานนอก เพราะโอมห์มากทำให้ได้วัตต์น้อย ด้วยการต่อแบบมีข้อจำกัด ตามรูปด้านล่างทั้งหมด
   เพาเวอร์แอม4Ch โดยทั่วไปวัตต์จะมีหลักอยู่ 3ขนาดวัตต์ด้วยกัน คือ

ขนาดที่1 วัตต์น้อย 4x50วัตต์

4Ωที่50วัตต์ ต่อลำโพงแกนร่วม ได้อย่างลงตัว
2Ωที่100วัตต์ ต่อลำโพง 6"+ลำโพงแหลม วัตต์เหลือ เสียงดี

ขนาดที่2 วัตต์ปานกลาง 4x70วัตต์

4Ωที่70วัตต์ ต่อลำโพง 6"+ลำโพงแหลม วัตต์เหลือ เสียงดี
2Ωที่140วัตต์ ต่อลำโพงเสียงกลาง6"ได้2ดอกได้ลงอย่างตัว

ขนาดที่3 วัตต์สูง 4x90วัตต์

 4Ωที่90วัตต์ ต่อลำโพง 8"+ลำโพงแหลม วัตต์เหลือ เสียงดี
2Ωที่180วัตต์ ต่อลำโพงเสียงกลาง6"ได้2ดอก+แหลมอีก2ดอก ได้อย่างลงตัว

พื้นฐานเครื่องเสียงติดรถยนต์

สิ่งแรก ๆ ที่ต้องรู้สำหรับเครื่องเสียงติดรถยนต์ 

1. Head Unit หรือ Front 

หรือภาษาไทยเรียกกันว่าวิทยุรถยนต์ มีทั้งประเภท 1-DIN และ 2-DIN แบบมีจอในตัว และจอแยก ทั้งแบบฟังเพลงอย่างเดียวและแบบฟังเพลง+ดูหนัง Spec พื้นฐาน 50x4 ไม่ควรต่ำกว่านี้ ห้ามเป็น spec หลอก

2. เพาเวอร์แอมป์รถยนต์

เป็นส่วนเสริมเพิ่มพลัง มีตั้งแต่ 1ch, 2ch, ไล่ไปจนถึง 5ch ทั้ง class A, ABและ D เลือกใช้ตามกำลังและหน้าที่ที่ต้องการ มีหลาย grade มาก ๆ มีตั้งแต่หลักไม่กี่พัน ไล่ไปจนถึง Amp ตัวละหลาย ๆ หมื่น

3. Speakers/Woofer หรือ ลำโพง 

เป็นส่วนที่ผู้คนมักพูดถึงมากที่สุดเพราะเข้าใจว่าตัวลำโพงจะเป็นตัวตัดสินคุณภาพเสียง ซึ่งแท้จริงแล้ว คุณภาพเสียงดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับทุกชิ้นที่จัดเป็นเครื่องเสียงติดรถยนต์ ผนวกกับระบบไฟและการวางแผนงานติดตั้ง

4. E.Q (Equalizers) Crossovers / ตัวปรับแยกคลื่นความถี่ 

เมื่อก่อนตัว crossovers มีความสำคัญมากเช่นเดียวกับเครื่องเสียงติดรถยนต์ชั้นอื่น ๆ แต่ปัจจุบัน crossover ลดความสำคัญลงเพราะวิทยุหลาย ๆ รุ่นมี functions ต่าง ๆ รวมถึง cross/EQ เสริมเข้ามาให้แล้ว หากเลือกใช้ถูกต้อง ปรับจูนเป็นก็ไม่ต้องใช้ cross เพิ่ม

5. อุปกรณ์เสริมอื่นๆ 

เช่น Bat, ซื้อ Bat, สายไฟ สายสัญญาณ อุปกรณ์เสริมให้ทั้งความสวยและคุณภาพ หากรู้จักเลือกใช้ราคาไม่แพงอย่างที่คิด

6. ระบบและการวางแผนติดตั้ง 

ส่วนนี้เป็นตัวควบคุมทุกอย่างในระบบเครื่องเสียงติดรถยนต์ของคุณเป็นส่วนสำคัญที่สุด ต้องการผู้ออกแบบ วางแผนที่มี Know-how ฟังเพลงเป็น รู้จักเครื่องเสียงหลากหลายประเภทและทุกเกรด เพราะเขาจะบอกคุณได้ว่าอะไร ควรใช้กับอะไร ด้วยระบบไหน จึงจะได้ผลดีที่สุด